วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความฝันหลังเกษียณ

ความฝันหลังเกษียณ
“เจ้านกน้อยคล้อยบินสู่เวหา เจ้าถลาเล่นลมสมฤดี บิน บิน ถลา ถลา เล่นลม บินล่องบินลอย บิน บิน ถลา ถลา เล่นลม บินล่องบินลอย" หว่อเฟย เฟย เฟย รู๋กว่าบู้เหนิงเฟย หว่อจั้วเก่าเที่ย รู้กว่าบู้เหนิงจั้วเก่าเที่ย หว่อจั่วตี้เที่ย รู้กว่า บู้เหนิงจั่วตี้เที่ย หว่อจั้ว ก่งก้งซี่เชอ รู้กว่า บู้เหนิง จั้ว ก่งก้งซี่เชอ หว่อฉี หมอเตอเชอ รู้กว่าบู้เหนิง ฉี หมอเตอเชอ หว่อฉี จื้อสิงเชอ รู้กว่าบู้เหนิง ฉี จื้อสิงเชอ หว่อ โจ่ว ปะ แปลได้ความว่า ผมจะบิน บิน บิน ถ้าหากบินไม่ได้ ก็จะนั่งรถไฟความเร็วสูง หัวกระสุน ถ้าหากนั่งรถไฟหัวกระสุนไม่ได้ ก็จะนั่งรถใต้ดิน ถ้าหากนั่งรถใต้ดินไม่ได้ ก็จะนั่งรถเมล์ ถ้าหากนั่งรถเมล์ไม่ได้ ก็จะขี่รถมอเตอร์ไซด์ ถ้าหากขี่รถมอเตอร์ไซด์ไม่ได้ ก็จะขี่รถจักรยาน ถ้าหากขี่รถจักรยานไม่ได้ ก็จะเดิน โลกนี้กว้างไกล ผมจะไปทุกที่ที่ใจปรารถนา ไม่ว่าภายในประเทศ รอบประเทศ และคนละขั้วของประเทศ ผมไม่ได้รวยล้นฟ้า ผมไม่ได้จนจนไม่มีอะไรจะกิน แต่โชคดีที่ผมมีมือสองมือ มีตาสองตา มีเท้าสองเท้า มีหูสองหูที่ดี ประสบการณ์แห่งการเดินทาง แทบทุกจังหวัดในประะเทศไทย ต่างประเทศ ก็ ลาว พม่า สิงค์โปร์ จีน คุนหมิง ต้าลี่ ลี่เจียง เขาซือหลิน เซี๊ยะเหมิน อู่อี๋ซาน เกาะหม่าจู ฝูเจี้ยน กวางโจ ฮ่องกง หมาเก้า เชี่ยง ไฮ้ หางโจ ปักกิ่ง เสินเจิ้น จูให่ สภาพครอบครัว เมียหนึ่งลูกสอง ไม่ต้องการหาเพิ่ม ชอบเดินทางคนเดียว ผมจะตามฝันของผมไป และแล้ว ใครๆ จะตามมา ก็ติดตามผมทางทางอินเตอร์เน็ต นามว่า ซุนย้ง แซ่เตียว อักษรจีน เอานามสกุลขึ้น ก่อนว่า จาง แปลว่า กว้างขวาง ขยาย แพร่กระจาย มาจากหมู่บ้านโถ่เก่า หรือหนี่เก่าเซี่ยง อำเภอโผวเล้ง หรือ ผู่หนิง จังหวัด ซ่านโถ หรือซัวเถา มณฑล กวางตุ้งหรือกวางตง เป็นรุ่นที่ 16 รุ่น คอ ต่อมาจากหมิง คนจีนในศรีสะเกษ ประมาณครึ่งหนึ่งมาจากหมู่บ้านเดียวกัน ถ้านับญาติ ส่วนใหญ่ เขาจะอยู่รุ่น 19และ20 ผมจึงอยู่ในระดับอาวุโส เป็นอาเจ็ก อาแปะ หรือเรียกแบบไทยๆ ก็รุ่นคุณปู่แล้วแหล่ะหลานๆ ครับ ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 8 ตำบลยางชุมใหญ่ อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ โทร 0862585859 อีเมล์ soonyongsatio2000@yahoo.com ส่วนชื่อมีสองคำคือคำว่า ซุน แปลว่า ราบรื่น และอีกคำคือ ย้ง (ก่านเตอะย้ง)มีความหมายว่า กล้าหาญ

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สิบค้นการเรียนรู้ www.thaikids.org/brain/brain1.

ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism


รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดของเพียเจท์ (Jean Piaget) เป็นการเรียนรู้แบบเดิมที่เราใช้กันมานาน คือ การจัดการเรียนรู้ที่ครูเป็นผู้ให้ข้อมูลและนักเรียนเป็นผู้รับข้อมูล ครูยิ่งให้ข้อมูลมากเท่าไร นักเรียนก็ยิ่งรับข้อมูลได้มากเท่านั้น ซึ่งเสนอในรูปสมการลูกศรทางเดียวได้ดังนี้

S O

S (Stimulant) คือ แรงกระตุ้น อาจเป็นครู ผู้สอน หรือสิ่งแวดล้อมที่จะไปกระตุ้นนักเรียนหรือผู้เรียน

O (Organism) คือ ผู้ที่ถูกกระตุ้น คือ นักเรียน หรือผู้เรียน
จากสมการข้างต้น ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่อยู่นิ่งๆ (passive) หรือเป็นผู้ที่ถูกกระทำ ซึ่งผู้เรียนจะต้องพึ่งพาสิ่งที่มากระตุ้นก็คือครู ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้จากการที่ครูเป็นผู้ให้ความรู้และผู้เรียนเป็นผู้รับความรู้อย่างเดียว หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้เรียนเปรียบเสมือนกล่องเก็บของว่างๆ และครูจะเป็นผู้นำข้อมูลความรู้ต่างๆ มาใส่ให้ นี่คือการเรียนรู้แบบเดิม

สำหรับการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructivism หรือการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง มองว่าการเรียนรู้แบบเดิมไม่ใช่การเรียนรู้ที่ถูกต้อง เพราะไม่ใช่การสอนให้เด็กเรียนรู้ เด็กไม่ได้เรียนรู้เอง ไม่ได้คิดเอง เราพบว่าการพัฒนาศักยภาพสมองไม่ใช่การให้เด็กเป็นผู้รับอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องให้เด็กและครูเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทั้ง 2 ฝ่าย โดยที่ต่างฝ่ายต่างเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ทฤษฎี constructivism หรือทฤษฎีการเรียนรู้แบบใหม่ คือ การสอนให้เด็กเรียนรู้เอง คิดเอง เด็กและครูจะเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทั้ง 2 ฝ่าย โดยที่ต่างฝ่ายต่างเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ตามทฤษฎีการเรียนรู้constructivism ผู้เรียนจะมีความสัมพันธ์กับผู้สอนดีกว่าการเรียนรู้รูปแบบเดิม เพราะมีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้เรียนและผู้ทำหน้าที่สอน ซึ่งจะเสนอในรูปสมการลูกศรสองทางดังนี้

O S

จากสมการ O คือ ตัวนักเรียนหรือผู้เรียนที่เป็นตัวหลักที่มีสิ่งกระทำต่อตัว S คือ ครูหรือผู้สอนด้วย โดยมีลักษณะเป็นลูกศรสองทาง กล่าวคือ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อมีกิจกรรมเกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่ใช่อยู่นิ่งๆ เหมือนกับในสมการแรกที่เป็นการเรียนรู้แบบเดิม หรือพูดง่ายๆ คือ ครูหรือผู้สอนและสิ่งแวดล้อมไม่ใช่สิ่งที่กระตุ้นหรือสิ่งที่กระทำต่อผู้เรียนเพียงอย่างเดียว แต่ผู้เรียนก็มีการกระทำต่อครูหรือผู้สอนด้วย นั่นคือผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับครู มีการสัมพันธ์อย่าง
ไม่อยู่นิ่งทั้งสองฝ่ายเพื่อที่จะให้เกิดการเรียนรู้

ทฤษฎี Constructivism ได้กล่าวถึงแนวคิดเรื่องความรู้จากกระบวนการเรียนรู้ ไว้ดังนี้

* ความรู้ประกอบด้วยข้อมูลที่เรามีอยู่เดิม และเมื่อเราเรียนรู้ต่อไปความรู้เดิมก็จะถูกปรับเปลี่ยนไป การปรับเปลี่ยนความรู้ต่างๆ ถือว่าเป็นการรับความรู้เข้ามาและเกิดการปรับเปลี่ยนความรู้ขึ้น เด็กจะมีการคิดที่ลึกซึ้งกว่าการท่องจำธรรมดา เพียงแต่เขาจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ใหม่ๆ ที่ได้มา และสามารถที่จะสร้างความหมายใหม่ของความรู้ที่ได้รับมานั่นเอง

บาง ครั้งเราคิดว่าถ้าเรามีหลักสูตรที่ดีพอและเต็มไปด้วยข้อมูลที่สามารถให้กับ ผู้เรียนได้มากที่สุดเท่าที่เราจะให้ได้แล้ว ผู้เรียนก็จะสามารถเรียนรู้ได้เองและเติบโตไปเป็นผู้ที่มีการศึกษา แต่ทฤษฎี constructivism กล่าวว่าหลักสูตรอย่างนั้นไม่ได้ผล นอกจากว่าผู้เรียนได้เรียนแล้ว สามารถคิดเองและสร้างมโนภาพความคิดด้วยตนเอง ทั้งนี้ เพราะการให้แต่ข้อมูลกับผู้เรียน ไม่ได้ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ เพราะการเรียนรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสมองของคนเรามีกระบวนการสร้างความ สัมพันธ์กับสิ่งกระตุ้นแล้วนำมาทำความเข้าใจว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งจะต้องนำมาสร้างความรู้ ความรู้สึก และมโนภาพของเราเองด้วย

ดังนั้นถ้าพูดถึงระบบการศึกษาแบบที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ไม่ได้หมายความว่ามีอุปกรณ์การสอนแล้วเราละทิ้งให้ผู้เรียนเรียนไปคนเดียว แต่การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด หมายความว่าผู้เรียนจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กันกับสิ่งกระตุ้น สิ่งกระตุ้นในที่นี้ หมายถึง ครู ผู้สอน หรือสิ่งแวดล้อมที่จะไปกระตุ้นผู้เรียน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยชี้แนะแนวทางการคิดให้กับผู้เรียน นอกจากนี้การสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งกระตุ้นต่างๆ จะทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างเป็นความรู้ขึ้นในสมอง
* ตัว กระตุ้นที่มีความสำคัญมากต่อการเกิดการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructivism คือ ความรู้เกิดจากความฉงนสนเทห์ทางเชาวน์ปัญญา วิธีการที่เราสามารถทำให้ผู้เรียนอยากจะเรียนรู้คือมีตัวกระตุ้นที่ทำให้ผู้ เรียนเกิดข้อสงสัยอยากรู้ และผู้เรียนต้องมีเป้าหมายและจุดประสงค์ที่อยากจะเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ ทั้งนี้เพราะว่าเวลาคนเราเกิดความสงสัยเกี่ยวกับอะไร ก็มักจะเกิดข้อคำถามที่ไม่สามารถตอบได้ขึ้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้น เป็นเป้าหมายที่จะทำให้ต้องเรียนรู้ เพื่อที่จะตอบคำถามนั้นให้ ได้

ดังนั้นครูจึงต้องพยายามดึงจุดประสงค์ ความต้องการ และเป้าหมายของผู้เรียนออกมาให้ได้ อาจจะโดยกำหนดหัวข้อหรือพูดคร่าวๆ ว่าเราจะศึกษาหรือเรียนรู้อะไรบ้าง เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับการเดินทางเข้าเมือง ให้ผู้เรียนตั้งเป้าหมายว่าเขาต้องการที่จะเรียนรู้อะไร มีคำถามอะไรบ้าง ซึ่งเป้าหมายจะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนและทำให้ผู้เรียนพยายามที่จะไปสู่เป้าหมายนั้น และมีความเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
* อีกกลุ่ม หนึ่ง คือกลุ่มนักจิตวิทยา ได้ให้ความคิดเห็นว่าความรู้มาจากการมีปฏิสัมพันธ์กันทางสังคม จากการที่เราได้ทบทวนและสะท้อนกลับไปของความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เราเข้าใจ

กระบวนการเรียนรู้โดยธรรมชาติ เป็นการเรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นสังคม กล่าวคือ ความรู้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสังคม ความรู้มาจากการที่คนอื่นได้แสดงออกของความคิดที่แตกต่างกันออกไป และกระตุ้นให้เราเกิดความสงสัย เกิดคำถามที่ทำให้เราอยากรู้เรื่องใหม่ๆ

ดัง นั้นการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ต้องมีสังคม ต้องดึงเอาความรู้เก่าออกมาและต้องให้ผู้เรียนคิดและแสดงออก ซึ่งจะทำได้เฉพาะกับสังคมที่มีการสนทนากัน แม้ว่าบางครั้งการสนทนาหรือการแสดงความคิดเห็นอาจจะไม่ตรงกันหรือมีความขัด แย้งกัน แต่ความขัดแย้งจะทำให้เราเกิดการพัฒนาและได้ทางเลือกใหม่จากที่คนอื่นเสนอ ฉะนั้นต้องทำให้ผู้เรียนได้แสดงออกมาว่ารู้อะไร และให้พูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนรู้โดยที่ครูหรือผู้สอนเป็นผู้ ช่วยเหลือเขา

สิ่ง สำคัญมากประการหนึ่ง คือ ครูจะต้องมีเวลากลับไปทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการออกแบบชั้นเรียน และถ้าผู้เรียนสามารถสร้างวิธีการประเมินตนเองในการเรียนรู้ที่ผ่านมา ก็จะประเมินตนเองได้ว่าได้ทำอะไรเพิ่มเติมจากที่ครูประเมิน ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ ของเขาและสะท้อนว่าเขาได้ เรียนอะไรและทำได้ดีเพียงไร

จีนคู่ค้าหรือคู่แข่งไทย นายพิษณุ เหรียญมหาสาร




บทคัดย่อ

เรื่อง จีนคู่ค้าหรือคู่แข่งไทย : เมื่อเข้า WTO
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายพิษณุ เหรียญมหาสาร นักศึกษา ปรอ. รุ่นที่ 14


ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การค้าระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทยสูงมากกว่าร้อยละ 110 โดยเฉพาะอย่างยิ่งมูลค่าการส่งออกมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของรายได้ประชาชาติ (GNP) ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องรักษาความเจริญเติบโตทางการส่งออกให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาตลาดส่งออกสินค้าไทยที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งไทยต้องพึ่งพามากที่สุด คือ ตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา คือ ปี 2543 และ 2544 ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่ถดถอยและกำลังอยู่ในภาวะหดตัวถึงช่วงปลายปี 2544 ต่อเนื่องถึงปี 2545 นี้ ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจของไทยค่อนข้างรุนแรง
ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นที่ไทยต้องหาตลาดใหม่สำหรับรองรับการส่งออกสินค้าไทย และตลาดที่นับว่ามีศักยภาพสำคัญยิ่งต่อการส่งออกของไทยในช่วงที่เศรษฐกิจประเทศตะวันตก ตกต่ำและช่วงต่อไปในอนาคต คือ จีน ซึ่งมีการพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจเปิดและการเข้าสู่สมาชิก WTO ตั้งแต่ 11 ธันวาคม 2544 จะทำให้จีนมีศักยภาพกลายเป็นตลาดสำคัญของสินค้าไทยได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าตลาดสหรัฐอเมริกาอย่างแน่นอน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
1. เพื่อศึกษาถึงการพัฒนาและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าของจีน ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเป็นข้อมูลสนับสนุนการคาดการณ์ศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนที่จะกลายเป็นตลาดสำคัญที่สุดของโลกในอนาคต



2. เพื่อศึกษาถึงผลกระทบเมื่อจีนเข้า WTO ที่มีต่อเศรษฐกิจการค้าไทย
3. เพื่อกำหนดกลยุทธ์การสร้างความพร้อมต่อความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวไทย - จีน ที่เอื้อประโยชน์ต่อการขยายความร่วมมือไทย - จีน ให้กว้างขวางยิ่ง ๆ ขึ้น

ขอบเขตของการวิจัย

โดยที่ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก มีขนาดพื้นที่กว้างขวางและยังมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน การศึกษานี้จึงจำกัดเน้นเฉพาะการพัฒนาเศรษฐิจของจีนหลังการเปิดประเทศ จนถึงการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน เพื่อให้ได้ข้อมูลมาใช้ประกอบการกำหนดกลยุทธ์การสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย - จีน ที่ให้ประโยชน์ต่อไทยและจีนสืบไป

วิธีดำเนินการวิจัย

วิธีวิจัย จะใช้วิธีเชิงพรรณนา (Descriptive) โดยศึกษาจากข้อมูลจีนของแหล่งศึกษาต่าง ๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ และสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำกรุงเทพฯ นำมาปรับให้ทันเหตุการณ์มากที่สุด และรวบรวมจากข้อคิดเห็นในการสัมมนา สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง และการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับภาคเอกชน ตลอดจนกรณีตัวอย่างที่ได้จากประสบการณ์จากการปฏิบัติงานในประเทศจีน รวมถึงการปฏิบัติเจรจากับจีนในขั้นตอนการเข้าสู่ WTO เพื่อนำไปใช้ประกอบทำการศึกษาหาข้อสรุป ผลกระทบ สภาพปัญหา และนำไปสู่ข้อเสนอแนะยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดจีนให้เป็นตลาดหลักสำหรับไทยในด้านความร่วมมือทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวไทย - จีน ที่ยั่งยืนสืบไป

ผลการวิจัย

1. ความเปลี่ยนแปลงของสถานภาพทางเศรษฐกิจจีน สามารถแยกได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่ ช่วงก่อนเปิดประเทศ ช่วงเปิดประเทศในปี 1978 ถึงการเข้าเป็นสมาชิก WTO ในปี 2001 และการคาดการณ์หลังจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO ทั้งนี้ จากการที่เศรษฐกิจจีนมีการขยายตัวในอัตราสูงมาโดยตลอด 20 ปีที่ผ่านมา และจากผลจากการเข้าเป็นสมาชิก WTO ทำให้คาดการณ์ได้ว่าเศรษฐกิจ



จีนจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องไปอีก ประกอบกับการที่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกอื่น ๆ กำลังประสบปัญหาการชะลอตัว หรือแม้แต่การหดตัวทางเศรษฐกิจ จึงทำให้คาดการณ์ได้ว่าเศรษฐกิจจีนจะกลายเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกในช่วง 20-30 ปี ข้างหน้านี้
2. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย - จีน ได้หยุดชะงักลงถึงประมาณ 3 ทศวรรษ เนื่องจากระบบการปกครองที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่หลังจากจีนเริ่มใช้นโยบายเปิดประเทศในปี 1978 จนถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย - จีน ได้พัฒนาขยายขอบเขตกว้างขวางขึ้นโดยลำดับ
การค้า การลงทุนไทย - จีน ที่มีต่อกันยังมีการขยายตัวในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศที่สามอื่น ๆ ที่ทำการค้าและเน้นการลงทุนในจีน เช่น ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ เป็นต้น ทั้ง ๆ ที่ความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติไทย - จีน มีความสนิทแนบแน่น ช่วยให้ไทยอยู่ในฐานะได้เปรียบกว่าประเทศที่สามอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม จากการที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO และมีข้อผูกพันที่จะต้องลดอัตราภาษี ตลอดจนเปิดตลาดสินค้าสำคัญหลายรายการ ทำให้คาดว่าไทยจะได้รับผลกระทบในทางบวกมากกว่าในทางลบ ซึ่งจะเกิดจากการแข่งขันที่สูงขึ้น
3. การที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO และจำเป็นต้องเปิดตลาดสินค้าและการบริการหลายรายการ แต่ขณะเดียวกันจีนก็กลายมาเป็นคู่แข่งขันที่สำคัญของไทยทั้งในตลาดในประเทศและตลาดที่สามนั้น ทำให้ไทยต้องเร่งพัฒนากลยุทธ์ทางการค้า การลงทุนกับจีนอย่างจริงจัง เพื่อรีบฉกฉวยโอกาสและป้องกันความเสียหายอันเกิดจากภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น ซึ่งรายละเอียดของกลยุทธ์ที่ไทยควรนำมาใช้ปรากฏดังข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะ

ตั้งแต่ปลายปี 2543 เป็นต้นมา เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มตกต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจประเทศที่เป็นตลาดหลักสำคัญของไทยได้เริ่มส่อแววเข้าสู่ภาวะตกต่ำ ไม่ว่าจะเป็นตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ทำให้การส่งออกของไทยในปี 2544 หดตัวลงอย่างชัดแจ้งในขณะที่จีนซึ่งเคยเป็นตลาดรองนั้นกลับมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สวนทางกับประเทศตลาดหลักดังกล่าวข้างต้น
ขณะเดียวกัน มีการคาดการณ์ว่า ในโอกาสที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO ตั้งแต่ 11 ธันวาคม 2544 จะมีส่วนสำคัญช่วยให้จีนมีการพัฒนาเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองรวดเร็วยิ่งขึ้น รายได้เฉลี่ยของคนจีนจะสูงขึ้น และการเปิดตลาดจีนภายใต้ความผูกพัน WTO จะเป็นตลาดหลักใหม่ที่สำคัญของไทย



กลายเป็นตลาดรองรับการส่งออกของไทยมากที่สุดได้ ทดแทนตลาดหลักสำคัญ ๆ เดิม และจะเป็นตลาดที่มีส่วนช่วยฟื้นฟูภาคการส่งออกของไทยให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2544 ได้ ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอให้ภาครัฐและภาคเอกชนไทยร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการวางแผนยุทธศาสตร์ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย - จีน เพื่อเปลี่ยนความกังวลวิกฤตแข่งขันกับจีนให้เป็นโอกาส ทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ที่นำไปสู่ผลประโยชน์ทางบวกให้ทั้งไทยและจีนได้มากขึ้นในที่สุด ทั้งนี้ เห็นควรกำหนดให้มีข้อสนับสนุน 3 ด้าน ดังนี้
1. ด้านลู่ทางการค้า นอกจากตลาดจีนจะเปิดกว้างและเสรีมากขึ้น ทั้งการลดภาษีนำเข้า และการผ่อนปรนข้อกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษี (Non - Tariff Barriers) ทำให้โอกาสสินค้าไทยเข้าตลาดจีนได้ง่ายขึ้นแล้ว การเพิ่มโอกาสที่ไทยต้องเร่งดำเนินการ คือ การมุ่งเน้นผลิตสินค้าระดับบน หรือการผลิตสินค้าที่ไทยได้เปรียบด้านการผลิตมากกว่าจีน เพื่อส่งเข้าตลาดจีน ก็จะช่วยให้สินค้าไทยมีโอกาสขยายในตลาดจีนได้มากขึ้น
2. ด้านการลงทุน จีนจะลดข้อจำกัดด้านการลงทุนให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เสรี และความได้เปรียบด้านทรัพยากร แรงงาน และพื้นฐานการผลิตมีส่วนดึงดูดการร่วมลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น และจากความสัมพันธ์ไทย - จีน ที่แนบแน่นกว่าประเทศที่สามอื่น ๆ ทำให้การเข้าร่วมทุนของไทยในจีนมีโอกาสมากยิ่งขึ้น
3. ด้านการท่องเที่ยว จีนมีแหล่งธรรมชาติที่สวยงามมากมายอยู่ทุกมณฑล และปัจจุบันมีความพร้อมพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และสาธารณูปโภคที่พัฒนาได้กว้างขวางมาก ประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านการบริการที่มีระบบและเป็นที่ยอมรับของลูกค้าได้กว้างขวางมาก จึงต้องรีบฉกฉวยโอกาสเข้าร่วมมือกับจีนในเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยว
4. ด้านการแข่งขันจากสินค้าจีนทั้งในตลาดจีน ตลาดไทย และตลาดประเทศที่สามนั้น จะสามารถลดลงได้โดยไทยต้องเน้นผลิตสินค้าคุณภาพสูง มูลค่าเพิ่มสูง หรือเป็นสินค้าระดับสูง (High End) เพื่อหนีการแข่งขันกับสินค้าคุณภาพต่ำที่จีนได้เปรียบด้านค่าแรงงานและต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าของไทย และสำหรับด้านสิทธิพิเศษการค้าที่จีนจะได้รับจากประเทศที่สามที่เป็นสมาชิก WTO ด้วยกันนั้น จีนจะไม่ได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าวแตกต่างกันระหว่างก่อนกับหลังเข้าเป็นสมาชิก WTO
ดังนั้น จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน จะส่งผลทางบวกต่อไทยมากกว่าผลลบ กล่าวคือ จีนจะเป็นคู่ค้าและคู่ขาร่วมทุนมากกว่าการเป็นคู่แข่ง

บทคัดย่อ จีน รศ.ดร.จุลชีพ ชินวรรโณ

บทคัดย่อโครงการวิจัยด้านเอเชียตะวันออกศึกษา
(งบประมาณแผ่นดิน)
ปีงบประมาณ 2528

ชื่อโครงการวิจัย พัฒนาการด้านจีนศึกษาในประเทศไทย ค.ศ. 1970-1988
ผู้ทำวิจัย รศ.ดร.จุลชีพ ชินวรรโณ
จำนวน 165 หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย

จีนศึกษา หรือการศึกษาเกี่ยวกับประเทศจีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ทวีความสำคัญ และได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในวงวิชาการในประเทศไทยทั้งนี้เป็นเพราะสาธารณรัฐประชาชนจีน ไม่เพียงแต่เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกหรือมีขนาดใหญ่มาก อีกทั้งยังมีความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมกับประเทศไทย ตลอดจนประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1975 หรือ พ.ศ. 2518 ยิ่งไปกว่านั้น จีนในปัจจุบันได้ทวีบทบาททางการเมืองและเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาครวมทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การวิจัยเกี่ยวกับ "จีนศึกษาในประเทศไทย" นี้มุ่งวิเคราะห์การพัฒนาการของความรู้และสถานภาพของความรู้เกี่ยวกับจีนศึกษาในปัจจุบัน ทั้งในด้านหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ตลอดจนกิจกรรมวิชาการต่างๆ ทั้ง ที่เป็นงานวิจัย งานเขียนตำรา หนังสือ บทความวิชาการ และการจัดสัมมนา อภิปรายทางวิชาการ เพื่อให้ทราบถึงสภาพทิศทางและปัญหาตลอดจนแนวโน้มอันจะเป็นประโยชน์ในการ กำหนดแนวทางและนโยบายในการศึกษาวิจัยและเพิ่มพูนองค์ความรู้เกี่ยวกับจีนให้ รอบด้านและลึกซึ้งยิ่งขึ้น
การวิจัยเกี่ยวกับ "จีนศึกษาในประเทศไทย" นี้ จะเน้นเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ 1970 คือ ตั้งแต่ ค.ศ. 1971 จนถึง ค.ศ. 1984 (พ.ศ. 2514-2527) โดยพิจารณาวิเคราะห์ลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทที่เกี่ยวกับจีนในมหาวิทยาลัยของรัฐเท่านั้น การวิจัยนี้จะเป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยจะวิจัยข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรจากคู่มือการศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ตลอดจนงานเขียน งานวิจัย ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการและหนังสือต่างๆ
ความสนใจเกี่ยวกับจีนในประเทศไทยได้มีมานานแล้ว แต่การศึกษาเกี่ยวกับจีนในเชิงวิชาการได้เพิ่งมีขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พร้อมๆ กับการพัฒนาของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย การศึกษาเกี่ยวกับจีนในอดีตเป็นไปด้วยความยากลำบากและมักถูกกระทบกระเทือนจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านการ เมืองภายในประเทศและระหว่างประเทศ
พัฒนาการของจีนศึกษาในประเทศไทยอาจแบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรกเป็นช่วงก่อนทศวรรษที่ 1970 คือ ตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึง ค.ศ. 1970 (หรือ พ.ศ. 2513) การเรียนการสอนเกี่ยวกับจีนมีอุปสรรคมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองและยึดอุดมการณ์ คอมมิวนิสต์ การสอนเกี่ยวกับจีนในช่วงนี้มักเน้นความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มากกว่าการเมืองและนโยบายต่างประเทศโดยผู้สอนมักสอนจีนรวมกับญี่ปุ่นและ เกาหลี ในวิชาที่เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกในช่วงที่สอง ระหว่าง ค.ศ. 1971-1975 (พ.ศ. 2514-2518) เป็นช่วงที่การศึกษาเกี่ยวกับจีนเฟื่องฟูมาก มีนักวิชาการรุ่นใหม่ๆ ที่สนใจจีนโดยเฉพาะ (specialists) และได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ ทั้งที่เป็นหนังสือและบทความ ทำให้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับจีนดีขึ้น อีกทั้งบรรยากาศทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายในหรือภายนอกก็ช่วยเกื้อหนุนต่อการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับจีนในด้านต่างๆ ส่วนในช่วงที่สาม เป็นช่วงหลัง ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518) จนถึงปัจจุบัน ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับบสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 การศึกษาเกี่ยวกับจีนอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 การศึกษาเกี่ยวกับจีนในช่วงนี้ขยายตัวมากขึ้น มีนักวิชาการและคนไทยอาชีพต่างๆ ไปเยือนจีนและเขียนหนังสือเกี่ยวกับจีนมาก ทำให้ความรู้เกี่ยวกับจีนเพิ่มมากขึ้น
ส่วนในด้านการเรียนการสอนนั้น ได้มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งเปิดสอนวิชาที่เกี่ยวกับจีนในระดับปริญญาตรี มีรวมทั้งสิ้น 212 วิชา ในสาขาต่างๆ รวมทั้งประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ ภาษา วรรณคดี และวัฒนธรรม ส่วนในระดับปริญญาโท มีอยู่เพียง 2 สาขา คือ รัฐศาสตร์และประวัติศาสตร์ โดยมีวิชาที่เกี่ยวกับจีนประมาณ 12 วิชา ในด้านการวิจัย งานวิจัยเกี่ยวกับจีนมีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาโท
ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยหลายแห่งได้จัดตั้งสถาบันศึกษาวิจัยเกี่ยวกับจีนขึ้น เช่น ใน พ.ศ. 2527 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาขึ้น เพื่อทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี นับเป็นสถาบันวิชาการระดับคณะแห่งแรกในประเทศไทยที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับจีน ต่อมาใน พ.ศ. 2528 สถาบันเอเชียศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ พ.ศ. 2510 ในฐานะหน่วยงานของภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้เปลี่ยนฐานะเป็นสถาบันวิจัยเทียบเท่าคณะ โดยมีจุดประสงค์ที่จะศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับจีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ใน เอเชีย การจัดตั้งสถาบันทั้งสองคงจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการแสวงหาความรู้ การค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับจีนต่อไปในอนาคต
โดยทั่วๆ ไป แม้ว่าพัฒนาการของจีนศึกษาในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาจะมีส่วนช่วยให้องค์ความรู้ (Body of knowledge) ที่เกี่ยวกับจีนเพิ่มมากขึ้น แต่การศึกษาเกี่ยวกับจีนก็ยังไม่ "รอบด้าน" และ "ลึกซึ้ง" เพราะยังมีอุปสรรคและปัญหาอีกหลายประการ เช่น การขาดนักวิชาการที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับจีนศึกษาในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสังคมและวัฒนธรรม การขาดแคลนตำราและหนังสือเกี่ยวกับจีนที่ลึกซึ้งและทันสมัยในเกือบทุกด้าน ส่วนผลงานวิจัยเกี่ยวกับจีนก็ยังมีอยู่น้อย ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการขาดเงินทุนอุดหนุน นอกจากนั้นในด้านการเรียนการสอนยังมีปัญหาเรื่องความซ้ำซ้อนของหลักสูตรและ ความลำบากในการศึกษาเกี่ยวกับจีนในเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary)
การพัฒนาจีนศึกษาในอนาคตน่าจะมีเป้าหมายในการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับจีนให้ "รอบด้าน" และ "ลึกซึ้ง" ยิ่งขึ้น โดยกำหนดทิศทางให้ชัดเจน เช่น การสร้างผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับจีนในสาขาที่ขาดแคลนโดยพยายามหาทุนการศึกษาหรือทุนฝึกอบรมระยะสั้น ตลอดจนทุนอุดหนุนในการวิจัยและพัฒนาตำราและหนังสือวิชาที่เกี่ยวกับจีนในด้านต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้นควรมีการ "ระดมสมอง" เพื่อพัฒนาหลักสูตรวิชาที่เกี่ยวกับจีน เพื่อลดความซ้ำซ้อนและสร้างลักษณะ "สหวิทยาการ" อีกทั้งควรขยายการเผยแพร่ความรู้ในรูปการอภิปราย บรรยาย สัมมนา หรือการอบรมพิเศษให้มากขึ้น ควรมีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับจีน และที่สำคัญที่สุด คือน่าจะมีการ ร่วมมือและประสานงานระหว่างสถาบันวิชาการในประเทศและต่างประเทศ ในการทำกิจกรรมวิชาการบางอย่างร่วมกัน
การพัฒนาจีนศึกษาในทิศทางดังกล่าวไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับจีนแต่จะมีส่วนช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดี และสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย
หน่วยบริการวิจัย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121
โทร. 0-2564-5000-3 โทรสาร 0-25645-4888 E-mail:ieas@asia.tu.ac.th

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

วิจัยภาษาจีน ของเจ้าเจีี๊ยบ จากเกษตรสุพรรณดีมากๆ

บทคัดย่อ: ความพีงพอใจในการเรียนการสอนภาษาจีนพื้นฐาน 1

ปัจจุบัน ประเทศจีนได้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และสังคม ภาษาจีนจึงมีความสำคัญในการสื่อสารในระดับสากลมากขึ้น ดังนั้น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี เปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาจีนพื้นฐาน 1 (2000-1250) ซึ่งการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนพื้นฐาน 1 ได้ศึกษาหลักสูตรฐานสมรรถนะและผลการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอื่น ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และใช้การสอนภาษาแบบ PPP ประกอบด้วยขั้นนำเสนอ (Present) ขั้นฝึกฝน (Practice) และขั้นสร้างผลงาน (Produce) คือ 3 ขั้นตอน เริ่มจากการสอนภาษาแก่ผู้เรียน จากนั้นให้ผู้เรียนซักซ้อมภาษาตามที่กำหนดในบทเรียน ก็จะได้ผลงานการใช้ภาษาของผู้เรียนอย่างมีความหมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเขาพูดกับใคร และเขาต้องการฝึกฝนอะไร (Teaching English in Japan, 2008) ประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนการสอนภาษาจีนพื้นฐาน 1 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เรียนวิชาภาษาจีนพื้นฐาน 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 153 คน เป็นวิจัยเชิงทดลองกลุ่มเดี่ยว ทดสอบโดยการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย แผนการเรียนรู้ภาษาจีนพื้นฐาน 1 เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนพื้นฐาน 1 แบบสอบถาม และแบบประเมินผลรายวิชาภาษาจีนพื้นฐาน 1 และมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสังเกต และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ มีความพึงพอใจในการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนพื้นฐาน 1 มากที่สุดคือ ระดับพอใจมาก ร้อยละ 45.88 ระดับพอใจมากที่สุด ร้อยละ 31.15 และระดับพอใจปานกลาง ร้อยละ 16.50 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ย 4.10 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75 นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้แต่ละด้าน พบว่า คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ แบบทดสอบ (ร้อยละ 85.94) รองลงมา คือ จิตพิสัย (ร้อยละ 88.92) แฟ้มสะสมงาน (ร้อยละ 82.48) ภาระงานและคัดอักษรจีน (ร้อยละ 77.38) และคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การสนทนา (ร้อยละ 54.98)

ผลการวิจัย ครั้งนี้ สามารถศึกษาปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนพื้นฐาน 1 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ เพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของนักศึกษา สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรีต่อไป

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

"ทำไมถึงควรรู้ภาษาจีนกลาง

ชอบคำตอบของ คิม ซ่า

หากถามว่านอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ภาษาต่างประเทศใดที่ควรเรียนรู้มากที่สุดในเวลานี้ คำตอบคือภาษาจีนกลาง การที่คุณรู้ภาษาจีนกลางหมายความว่าคุณกำลังรู้ภาษาที่คนกว่าพันล้านคนทั่วโลกใช้กันอยู่ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูงและต่อเนื่องมาหลายปีและถูกจับตามองว่า จะกลายเป็นยักษ์ใหญ่ด้านเศรษฐกิจของโลกในศตวรรษนี้

จากเหตุผลข้างต้น ทำให้ทุกวันนี้ภาษาจีนกลางได้กลายเป็นภาษาที่คนจากหลายประเทศให้ความสนใจและตื่นตัวที่จะเรียนรู้กันมากขึ้นและจำนวนคนที่เรียนภาษานี้ก็มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้เรียนส่วนใหญ่ล้วนมี เป้าหมายในการเรียนภาษานี้คือเพื่อต้องการสร้างข้อได้เปรียบในการสมัครงาน การเติบโตในหน้าที่การงาน และโอกาสในการติดต่อทางธุรกิจ เป็นต้น

รู้ภาษาจีนกลางเพิ่มอีก 1 ภาษา = เข้าถึงผู้คนบนโลกเพิ่มอีกกว่า 1 พันล้านคนเช่นกัน

ข้อมูลจาก Wikipedia ระบุว่ามีคนประมาณ 873 ล้านคนพูดภาษาจีนกลางเป็นภาษาแม่ และอีก 178 ล้านคนพูดภาษาจีนกลางเป็นภาษาที่สอง รวมแล้วคนที่พูดภาษาจีนกลางทั่วโลกมีทั้งหมด 1,051 ล้านคน

ภาษาจีนกลางเป็นภาษาราชการที่ใช้ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน นอกจากนี้ยังเป็น 1 ใน 4 ภาษาราชการที่ใช้ในประเทศสิงคโปร์ รวมทั้งยังใช้อย่างแพร่หลายในชุมชนชาวจีนตามประเทศต่างๆทั่วโลกอีกด้วย


รู้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน = สื่อสารคนบนโลกได้ถึง 2 พันล้านคน


คนบนโลกใบนี้สามารถพูดภาษาจีนกลางได้มีประมาณ 1,051 ล้านคน บวกกับคนที่พูดภาษาอังกฤษได้อีกประมาณ 1,100 ล้านคน รวมแล้วทั้งหมด 2,151 ล้านคนหรือประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรโลก นี่คือตัวเลขจำนวนประชากรที่คุณสามารถเข้าถึงพวกเขาได้ หากรู้ทั้งภาษาจีนกลางและภาษาอังกฤษ


ปี 2010 ตัวเลขผู้เรียนภาษาจีนกลางแตะ 100 ล้านคน
สำนักข่าวซินหัวของประเทศจีนรายงานว่า กระทรวงศึกษาธิการของจีนได้ประเมินตัวเลขชาวต่างชาติที่เรียนภาษาจีนกลางทั่วโลกจะมีถึง 100 ล้านคนในปี 2010 ซึ่งรัฐบาลจีนต้องผลิตคร ูสอนภาษาจีนประมาณ 5 ล้านคนเพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว

สำหรับในปัจจุบันคาดกันว่ามีชาวต่างชาติที่กำลังเรียนภาษาจีนกลางประมาณ 40 ล้านคนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยจำนวน 12,400 แห่งทั่วโลกhttp://english.cri.cn/3126/2006/05/24/269@94606.htm

นิตยสาร TIME รายงานข่าวกระแสการเรียนภาษาจีนกลางทั่วโลก


การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีน ทำให้โลกมีภาษาที่สองใหม่ซึ่งไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เดวิด แกรดดอล (Davis Graddol) นักภาษาศาสตร์ชาวอังกฤษบอกว่า หากคุณต้องการก้าวหน้าต่อไป ต้องเรียนภาษาจีนกลาง หลายประเทศในทวีปเอเซีย ยุโรป และประเทศสหรัฐอเมริกา ภาษาจีนกลางกำลังเป็นภาษาใหม่ที่ต้องเรียน

นักศึกษามหาวิทยาลัยและนักเรียนระดับไฮสคูลของประเทศเกาหลีใต้กว่า 160,000 คน กำลังเรียนภาษาจีนกลางซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 66 จาก 5 ปีที่แล้ว

ในระหว่างปี 1993 – 2005 พบว่าจำนวนโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศญี่ปุ่นที่เปิดสอนวิชาภาษาจีนกลางเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า ทุกวันนี้ภาษาจีนกลางกลายเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนกันมากเป็นอันดับ 2 ในประเทศญี่ปุ่น รองจากภาษาอังกฤษ

ในปี 2004 ประเทศจีนกลายเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในประเทศกัมพูชา ชาวกัมพูชาเองก็มองเห็นถึงความสำคัญของภาษาจีนที่เทียบเท่ากับภาษาอังกฤษ ประเทศอื่นๆนอกทวีปเอเซีย จำนวนนักเรียนที่เรียนภาษาจีนกลางยังเป็นกลุ่มเล็กอยู่ แต่ก็มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ระหว่างปี 2000-2004 จำนวนนักเรียนในอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์ ที่สอบวิชาภาษาจีนในระดับสูงเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 57

ในประเทศสหรัฐฯ การเรียนภาษาจีนกลางยังคงตามหลังการเรียนภาษาต่างประเทศอย่างภาษาฝรั่งเศสและภาษาสเปนซึ่งเป็นที่นิยมอยู่ แต่จำนวนกลุ่มนักเรียนระดับวิทยาลัยที่ไปศึกษาต่อที่ประเทศจีนกำลังเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีเมื่อเดือนมกราคม ปี 2006 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ของสหรัฐฯ ได้ประกาศแผนที่จะใช้งบประมาณ 114 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือประมาณ 4,000 ล้านบาทเพื่อเพิ่มจำนวนครูผู ้สอนและหลักสูตรภาษาที่มีความจำเป็นในด้านยุทธศาสตร์ซึ่งหนึ่งในนั้นมีภาษาจีนกลางอยู่ด้วย

รัฐบาลจีนได้พยายามส่งเสริมให้ชาวต่างชาติเรียนภาษาจีนกลางกันมากขึ้น โดยรัฐบาลได้ก่อตั้งสถาบัน Confucius Institutes ซึ่งเป็นศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมที่ทำหน้าที่แบบเดียวกับบริติช เคาน์ซิล(British Council) ของประเทศอังกฤษ สถาบันเกอเธ่ (Goethe-Institut) ของประเทศเยอรมนี หรือ อัลลิยอง ฟรองเซส์ (Alliance Francaise) ของประเทศฝรั่งเศส โดยได้ก่อตั้งในประเทศต่างๆมากกว่า 30 ประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เคนย่า สหรัฐฯและสวีเดน เป็นต้น ประเทศจีนได้ตั้งเป้าหมายว่า จะมีชาวต่างชาติเรียนภาษาจีน 100 ล้านคนก่อนปี 2010 http://www.time.com/time/asia/covers/501060626/story.html"

นี่คือคำตอบจาก cimza ต่อคำถาม: ภาษาจีน

วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2551

คิดอะไรอยู่

ไปหาปลาในทุ่งนาสมัยเด็กๆ
ไปหาคนเดียวตามประสา ก็ได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่เมื่อเห็นเพื่อนๆ ได้มากๆ ก็ถามเพื่อนว่า ทำอย่างไร
เขาบอกว่าพ่อแม่เขาสอนว่า เวลาฝนตก ปลาจะตื่นน้ำใหม่มันจะวิ่งลอยทวนน้ำ เพื่อขึ้นไปหากินอาหารตรงข้างบนที่น้ำตื้นๆจะมีใส้เดือนอาหารมากมาย เวลามันไปจะไปเป็นฝูงๆ เราก็ไปกับเขา ปรากฎว่าได้มากขึ้น ถ้าได้น้อยเพื่อนก็แบ่งให้แสดงความมีน้ำใจ
เมื่อโตขึ้นไปหาปลากับครู ครูบอกว่า เราต้องรู้แหล่งที่ปลาวิ่ง มันก็จะมีปลาตรงที่มันผ่านเป็นประจำทุกปีนั่นแหล่ะ เมื่อไปกับครูทำตามคำแน่ะนำก็ได้มากจริงๆ
เมื่อมีครอบครัวแล้ว ก็ไปหาปลามาเลี้ยงลูกเมีย ก็นำตาข่ายดักปลาไปจับ ตามที่เพื่อนๆเขาทำกัน
ที่เหมาะที่สุดคือตรงหน้าปากท่อ ที่น้ำไหลเข้าท่อ จะมีตาข่ายดักปลาจำนวนมากแต่ก็ได้ปลา
ตาข่ายถี่ จะได้ปลาตัวเล็กตัวน้อย แต่ก็ได้ทุกวัน ส่วนตาข่ายตาห่าง ก็จะได้ตัวโต แต่ได้น้อย บางวันก็อาจจะไม่ได้เลย
มีเพื่อนบอกว่า อยากได้มากก็ เอาตาข่ายหลายๆผืน ก็จะได้ปลาหลายๆตัว
ถ้าตาข่ายเล็กได้อาหารทุกวันแน่ๆ แต่ตาข่ายใหญ่ ก็ได้ตัวโตอร่อย คุ้ม
ถ้าอยากได้ทั้งสองอย่างก็เอาตาข่ายหลายๆผืน ทั้งถี่และห่าง

เมื่อมาวิเคราะห์ประกอบการค้าการตลาดเชิงธุรกิจ คิดแบบฮวงจุ้ยของชาวจีนบ้าง
ปลา เปรียบเสมือนเงินทอง น้ำเปรียบเสมือนถนนที่ตัดผ่าน
แหล่งน้ำไหลเปรียบเสมือน ที่ปลาซุกซุม ก็คือทำเล ตลาดที่ผู้คนเข้าออกมากมาย
อยากได้ปลาทุกวันก็เหมือนขายของเล็กๆน้อยๆ ได้ขายทุกวัน ได้ทุกวัน
ส่วนอยากได้เงินก้อนโต หรือปลาตัวใหญ่ ก็ค้าขายสินค้าราคาสูง นานที ได้ที แต่ก็คุ้ม
อยากได้มากๆ ก็มีตายข่ายหลายตาข่าย ก็เปรียบเสมือน มีร้านค้าหลายๆแห่ง หลายๆที่ ก็จะได้เงินมากขึ้น

ที่สำคัญ การหาเงินมีอยู่สองทางคือ
๑.การหามาเพิ่ม เช่น เงินเดือน ความชอบ การค้าขาย การหาอาหารทำนา ปลูกผัก หาปลา เก็บเห็ด ได้เล็กได้น้อย ก็จะเพิ่มขึ้น
๒.การประหยัด ลดค่าใช้จ่ายประจำวัน ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ เสื้อผ้า อาหาร งานสังคม
เงินที่หาง่ายที่สุด จะอยู่ข้อที่สอง ไม่ต้องเหนื่อยมากนัก แค่ไม่จ่าย เงินที่มีก็เหลือแล้ว

เราอยู่ในสังคม เราต้องการการอยู่อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี
เราจำเป็นต้องวิเคราะห์ความจำเป็น ควรไม่ควร
เรามีเงินต้องการมีศักดิ์ศรี เอาเงินมาเลี้ยงเพื่อนๆ เขาก็ขอบคุณ ดีใจที่เรามีน้ำใจ แต่เราต้องคิดไปข้างหน้าอีกว่า เราทำบ่อยๆ เราจะเดือดร้อนไหม คนรอบข้าง ลูกครอบครัวญาติเราจะเดือดร้อนไหม บางครั้งอาจจะเกิดผลลบได้ ถ้าเลี้ยงไม่ถูกที่ไม่ถูกกาล อาจจะถูกมองว่า น่าหมั่นใส้ หรือเราทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินอยู่ อาจจะถูกมองว่ายักยอกเงินราชการมาหรือเปล่า แทนที่จะเป็นผลดี อาจจะเกิดผลลบทางสังคมได้
ใช้เงินในการซื้อของประดับ บางครั้งก็สวยงาม ดังคำที่ว่าไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง การแต่งตัวบางครั้งก็ดีทำให้สังคมมองในสิ่งที่น่าประทับใจ แต่เราก็ต้องวิเคราะห์บทบาททางสังคมบ้างคนรอบข้าง พ่อแม่ พี่น้อง จะถูกมองว่า โป้ไปไหม เหมาะกับวัยหรือเปล่า แก่แล้วยังทำเป็นเด็ก หรือเด็กวานซืนทำตัวแก่แดด และทรัพย์ที่จะนำมาประดับตัว จะนำไปสู่การฆาตรกรรมหรือไม่ ใช้ไม่ถูกที่ถูกกาล พาลต้องเสียชีวิต เสียชื่อเสียงได้

ค่านิยมที่ผิดๆ ทำให้เดือดร้อนทั้งตนเองและคนรอบข้าง
บ้านหรูๆ ทั้งๆที่ อาทิตย์หนึ่งๆ ได้นอนแค่วันเสาร์อาทิตย์ แต่สร้างตั้งหลายล้าน เพื่ออวดบารมี
รถยี่ห้อดังๆ ได้นั่งฟังเพลงอาทิตย์ละสองชั่วโมง มูลค่าล้านกว่าบาท เท่ไม่หยอก
สำหรับความคิดผมแล้วเห็นว่า มันไม่ใช่เรา สิ่งจำเป็นสำหรับเรา สำหรับครอบครัว สังคมรอบข้าง น่าจะเอาเงินเหล่านั้นไปต่อไปเพิ่ม เป็นทุนให้มีเงินมากขึ้น หรือไม่ก็ไปใช้ในสิ่งที่จำเป็นกว่านี้ที่เรามีอยู่

ผมรู้สึกสงสารบุคคลที่ติดค่านิยมดังกล่าว
บางคนก็อาจจะบอกว่าก็ฉันมันรวยน่ะ
แต่ผมบอกว่า มันไม่ใช่น่ะ คุณยังไม่รวยพอที่จะทำแบบนั้น ลูกหลานคุณยังไม่มีอาชีพ คุณน่าจะเตรียมอาชีพให้กับเขามากกว่า
ไม่น่ะพ่อแม่ของคุณที่เขาเลี้ยงคุณมา คุณได้ทำหน้าที่ลูกๆที่ดีแล้วยัง คุณให้คุณภาพชีวิตที่ดีกับเขาแล้วยัง อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่พัก
แล้วคนรอบข้างคุณเขายังจนอยู่ คุณได้ให้การเหลียวแลเขาบ้างไหม ให้ความรู้ ให้คำแน่ะนำ ให้หยิบยืมบ้างตามโอกาส
ถ้าเขาอยู่อย่างมีความสุข คุณก็อยู่กับเขาอย่างมีความสุข
ตราบใดที่คนรอบข้างของคุณยังทุกข์อยู่
ท่านจะมีบ้านที่หรู มีรถนั่งราคาแพง นั่นอาจจะเป็นคุณ แต่ไม่ใช่ผม

การที่จะมีพอประมาณคิดว่าคงไม่ยาก
ดังที่ว่า ป่าคุณไม่ต้องปลูกมากมาย ขอแค่คุณอย่าไปตัด มันก็จะงอกงามของมันเอง
เงินคุณไม่ต้องเสียเวลาอดหลับอดนอนวิ่งตลอดเวลาก็ได้ ขอแค่คุณไม่คิดจะใช้วางแผนต่างๆ มันก็จะเหลือของมันเองอยู่แล้ว

และสุดท้ายก็ขอนำคำสอนโอวาทสี่ของเหลียวฝานบางตอนที่บอกว่า
ดวงชะตาฟ้าลิขิต กำหนดชะตาชีวิตของคุณแล้ว
แต่ถ้าคุณทำดี คุณก็จะมาแบบเหนือดวง
ฉันใดก็ดี ถ้าคุณรอแต่ดวง ไม่ทำอะไรให้ดีขึ้น ดวงก็ช่วยคุณไม่ได้เช่นกัน

ศีล ทาน ภาวนา
ศีลห้าข้อ ถือไว้ให้มั่น
การทานที่ดีที่สุดคืออภัยทาน รองลงมาคือธรรมทาน สุดท้ายควรทานให้กับคนดีมีศีลคืออามิสทาน
ภาวนาคือการปฏิบัติ ปฏิบัติดี ด้วยกาย วาจา และใจ

บุญกุศลย่อมเกิดแก่ผู้ทำ
เราไม่จำเป็นต้องเอาคำพูดเขาเราไปสอนใครๆหรอก
แต่เราปฏิบัติให้เขาดู ให้เขาเห็น

คนมีปัญญาย่อมเห็นธรรม